กระจายความเสี่ยง เรื่องการเงินส่วนบุคคลที่ไม่ได้เป็นแค่เรื่องของการลงทุน

กระจายความเสี่ยง เรื่องการเงินส่วนบุคคลที่ไม่ได้เป็นแค่เรื่องของการลงทุน

ทำไมเราถึงควรกระจายความเสี่ยง
-เป็นการจัดการเงินให้ครบทุกด้าน ทำให้เราสามารถบาลานซ์ความเสี่ยงกับความสุขให้ไปด้วยกันได้
-กระจายความไม่แน่นอนของการลงทุน เพื่อไม่ให้เราสูญเสียเงินจำนวนทั้งหมดไป
-เป็นการเพิ่มโอกาสของผลตอบแทน

กระจายความเสี่ยงอย่างไรบ้าง
1.จัดการกับความเสี่ยง กรณีที่ต้องว่างงาน หรือเจ็บป่วยและทำให้ขาดรายได้ โดยควรต้องเตรียม
-เงินสด หรือสินทรัพย์อื่นๆที่แปลงเป็นเงินสดได้ง่าย โดยควรสำรองไว้ 6เดือน – 1 ปี เป็นอย่างน้อย เพื่อครอบคลุมค่าใช้จ่ายและหนี้ต่างๆ
-เงินที่แบ่งไว้สำหรับการรักษา อย่างน้อย 1 แสน – 1 ล้านบาท หรือประกันสุขภาพที่มีวงเงินตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป เพื่อไม่ให้กระทบกับสภาพคล่องเวลาต้องใช้เงินฉุกเฉิน เป็นการกระจายความเสี่ยงไปให้บริษัทประกัน

หากเราเริ่มลงทุนโดยที่ยังไม่ได้เตรียมส่วนด้านสภาพคล่อง แปลว่า เรากำลังมีความเสี่ยงสูง เพราะหากเกิดต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก เราต้องยอมขายสินทรัพย์ต่างๆ รวมถึงต้อง Cut loss โดยไม่จำเป็น

หากเราตอบโจทย์เรื่องสภาพคล่องได้แล้ว เรามาดูกันต่อ ว่าเราจะกระจายความเสี่ยงอย่างไรได้บ้าง

2.กระจายตามระดับความเสี่ยง
ความเสี่ยงของการลงทุน เริ่มต้นตั้งแต่ไม่เสียเงินต้นจนถึงระดับสูญเสียเงินต้นทั้งหมด เรามาทำเข้าใจความเสี่ยงแต่ละระดับกันค่ะ

การลงทุนความเสี่ยงต่ำ เน้นคุ้มครองเงินต้น
-ฝากเงินธนาคาร
-ประกันสะสมทรัพย์
-กองทุนรวมตราสารเงิน
-ประกันควบการลงทุน ที่ลงทุนในตราสารเงิน หรือประกันควบการลงทุนที่บริษัทให้ผลตอบแทนขั้นต่ำ 1%
-พันธบัตรรัฐบาล

การลงทุนความเสี่ยงปานกลาง
-หุ้นกู้ ระดับความเชื่อถือ BBB+ ขึ้นไป แบบไม่ด้อยสิทธิ มีประกัน
-กองทุนรวมตราสารหนี้
-ประกันควบการลงทุน ที่เลือกลงในตราสารหนี้

การลงทุนความเสี่ยงสูง
-หุ้นกู้ระดับความน่าเชื่อถือต่ำ แบบด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน อาจจะให้ผลตอบแทนดีมาก แต่มีความเสี่ยงการผิดนัดชำระ (Default) ได้
-กองทุนรวมตราสารทุน
-หุ้น
-สินทรัพย์ทางเลือก ได้แก่ ทอง หรืออสังหาริมทรัพย์

การลงทุนความเสี่ยงสูงมาก อาจจะสูญเสียเงินต้นจำนวนมาก หรือทั้งหมด
-คริปโตเคอเรนซี่
-สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivative) เช่น เทรดฟิวเจอร์ในทอง น้ำมัน ค่าเงิน

โดยในพอร์ตของเราควรจะมีสินทรัพย์ที่มีระดับความเสี่ยงที่แตกต่างกันเท่าที่เรารับได้ค่ะ

3.กระจายตามช่วงเวลา
การกระจายช่วงเวลาในการลงทุน อาจจะเดือนละครั้ง หรือทุกวันที่หวยออก (DCA) เพื่อให้ได้ต้นทุนเฉลี่ย เหมาะกับคนที่ไม่สามารถติดตามสถานการณ์การลงทุนอย่างต่อเนื่องได้
หรือถ้าคนที่ติดตามตลาดอยู่ แต่ไม่แน่ใจว่าตลาดจะไปทางไหน ก็สามารถแบ่งเงินก้อนทยอยซื้อทีละงวดได้

____________________________________________

สามารถสอบถาม ซื้อกองทุนรวม หุ้นกู้ และประกันได้ที่นี่ค่ะ

ติดต่อทางไลน์: https://line.me/R/ti/p/@775usduq?from=page&searchId=775usduq

ติดต่อทางแชทเฟสบุค: http://m.me/findoccozycorner

คู่มือเปิดบัญชีกองทุนรวมใน Finnomena โดยให้หมอมิ้ม FinDoc’s Cozy Corner เป็นที่ปรึกษาการลงทุนให้กับคุณค่ะ

https://docs.google.com/…/19pUQ98aqGLHcZhmBTVYu…/edit…

____________________________________________

สามารถสอบถามหมอมิ้ม FinDoc’s Cozy Corner ได้ โดยให้บริการดังนี้ค่ะ

  • ลดหย่อนภาษีด้วยประกัน ThaiESG SSF RMF
  • ประกันสุขภาพ
  • ประกันสำหรับเด็ก
  • ประกันสะสมทรัพย์
  • ประกันบำนาญ
  • ประกันควบการลงทุน (Unit Link)
  • กองทุนรวม
  • หุ้นกู้
  • (สำหรับบริษัท) ประกันกลุ่ม
  • (สำหรับบริษัท) ประกัน Key Man สำหรับผู้บริหารบริษัท

ติดต่อทางไลน์: https://line.me/R/ti/p/@775usduq?from=page&searchId=775usduq

ติดต่อทางแชทเฟสบุค: http://m.me/findoccozycorner

____________________________________________

หากสนใจเรื่องการเงินการลงทุน ประกัน และการลดหย่อนภาษี สามารถติดต่อสอบถามเพื่อตรวจสุขภาพการเงินและวางแผนการเงินได้ที่นี่ค่ะ

www.findoccozycorner.com

https://www.facebook.com/findoccozycorner

Scroll to Top