การลงทุนในกองทุนรวม สิ่งสำคัญคือเราต้องรู้ว่ากองทุนที่เราซื้อ ลงทุนในอะไร มีโอกาสที่จะทำกำไรหรือไม่ ซึ่งข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญ ถูกสรุปรวมอยู่ใน Fund Fact Sheet ค่ะ
แต่ข้อมูลใน Fund Fact Sheet มีมากจนไม่รู้ว่าจะอ่านอะไรดี บทความนี้ เราจะมาทำความรู้จัก Fund Fact Sheet ให้มากขึ้นกันค่ะ
1.วันที่อัพเดทล่าสุดของข้อมูล: ใช้ดูว่าข้อมูลที่เรากำลังจะอ่านต่อไปนี้อัพเดทล่าสุดหรือไม่และใช้ดูควบคู่กับผลการดำเนินงานแบบปักหมุด กล่าวคือ ระยะเวลาของผลการดำเนินงานที่จะอยู่ในหัวข้อที่ 6 จะนับจากวันที่ที่ระบุใน fund fact sheet นั่นเองค่ะ
2.ระดับความเสี่ยง: เราควรเลือกความเสี่ยงที่สอดคล้องกับที่เราประเมินได้เนื่องจากกองที่มีความเสี่ยงสูงจะมีโอกาสขาดทุนได้สูงกว่า แต่ก็มีโอกาสได้ผลตอบแทนที่มากขึ้นด้วย เราอาจดูควบคู่กับ Maximun drawdown ในหัวข้อ 9 ด้วยค่ะ
3.นโยบายการลงทุน: เป็นส่วนที่สรุปว่ากองทุนรวมนี้ได้ลงทุนที่ไหนบ้างใช้กลยุทธ์อะไร เป็นกอง active หรือ passive ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่นักลงทุนทุกท่านควรให้ความสำคัญไม่แพ้ผลการดำเนินงานเลยค่ะ เพราะถ้านโยบายการลงทุนไม่ตอบโจทย์ของเราตั้งแต่แรก ต่อให้ผลการดำเนินงานดี ก็อาจจะไม่เหมาะกับตัวเราค่ะ
4.ดัชนีชี้วัด: ดัชนีชี้วัดใช้เปรียบเทียบผลการดำเนินงานเทียบกับกองทุนของเรา เพราะเวลาเราจะวัดผลอะไร เราก็จำเป็นต้องมีตัวมาเปรียบเทียบ เพื่อบอกว่าที่ผ่านมากองทุนนี้ทำผลงานได้ดีหรือไม่ โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดไม่ดี ถ้าเราดูแต่ผลการดำเนินงานอย่างเดียว อาจจะรู้สึกว่ากองทุนให้ผลตอบแทนน้อย แต่ถ้ามาเทียบกับดัชนีชี้วัด ก็อาจเห็นว่ากองทุนสามารถเอาชนะตลาดได้ แม้ในช่วงที่ตลาดแย่
5.นโยบายการจ่ายเงินปันผล: ช่วยบอกว่ากองทุนนี้จ่ายปันผลหรือไม่และถ้าจ่ายปันผล จ่ายเดือนไหนบ้าง
6.ผลการดำเนินงานย้อนหลัง: ส่วนนี้จะทำให้เรารู้ว่ากองทุนที่เราสนใจผลตอบแทนดีกว่าดัชนีชี้วัด และกองทุนรวมในกลุ่มธุรกิจเดียวกันหรือไม่ โดยระยะเวลา 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี คือนับย้อนหลังไปจากวันที่ระบุใน fund fact sheet ดังตัวอย่างนี้ก็คือวันที่ 28 ธันวาคม 2566 นั่นเองค่ะ
7.ความผันผวน: ใช้ดูประกอบกับผลการดำเนินงาน เป็นตัวที่บ่งบองความเสี่ยงของกองทุนถ้ากองที่มีความผันผวนสูง แปลว่ามีความเสี่ยงที่สูงค่ะ
8.การซื้อ / ขายคืนหน่วยลงทุน: บอกยอดขั้นต่ำในการซื้อ ขั้นต่ำในการขาย และระยะเวลาที่จะได้เงินเมื่อขายเช่น T+3 คือได้เงินภายใน 3 วันทำการ หลังจากวันที่ส่งคำสั่งขายบางกองที่ใช้เวลาหลายวัน ในกรณีที่ผู้ลงทุนต้องการใช้เงินสดที่ขายจากกองทุน อาจจะทำให้ไม่ได้รับเงินได้ทันที ดังนั้นผู้ลงทุนควรจะต้องมีการบริหารสภาพคล่องด้วย
9.ข้อมูลเชิงสถิติ
– Maximum Drawdown: บอกราคาที่ตกต่ำสุดในช่วงที่ผ่านมา ช่วยบอกเราว่าถ้ากองทุนติดลบถึงระดับนี้ เรายอมรับได้หรือไม่
– Recovering Period: คือระยะเวลาที่กองทุนฟื้นตัวจากช่วงที่ผลตอบแทนต่ำสุดขึ้นมา
– FX Hedging: มีการป้องกันความเสี่ยงทางค่าเงิน ในกองที่มีการลงทุนต่างประเทศ มักจะมีเรื่องความเสี่ยงของค่าเงินเข้ามามีผลต่อผลตอบแทนที่เราจะได้รับเสมอ กองทุนที่มีค่า FX Hedging ที่สูง แปลว่ามีการป้องกันความเสี่ยงด้านค่าเงินให้ แต่ก็มักจะแลกมากับต้นทุนที่เราจะต้องเสียในส่วนของค่าธรรมเนียมเพิ่มด้วยค่ะ
– อัตราส่วนหมุนเวียนการลงทุน: ถ้าอัตราส่วนสูง แปลว่ากองทุนนี้ผู้จัดการกองทุนมีการสับเปลี่ยนสินทรัพย์ที่ค่อนข้างบ่อย มักจะเป็นลักษณะของกอง active
– Sharpe Ratio: ใช้เปรียบเทียบกับกองอื่นๆ ว่าในความเสี่ยงที่เท่ากัน กองใดมีผลงานดีกว่า โดยถ้าค่ายิ่งสูง ยิ่งดี
– Alpha: เป็นค่าที่บอกว่าผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนใน กองทุนนั้นทำได้ดีหรือมากกว่าผลตอบแทนของตลาดอยู่กี่ %
– Beta: เป็นค่าที่บอกความผันผวนของราคากองทุนว่ามีความรุนแรงและมีทิศทางเป็นอย่างไร เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีตลาดโดยรวมยิ่งตัวเลขที่ใกล้เคียง 1 แปลว่าการเปลี่ยนแปลงใกล้เคียงตลาดมากเท่านั้น แต่หาก Beta ติดลบ แปลว่า มีความสัมพันธ์ที่สวนทิศทางกับตลาด เช่นตลาดขึ้น แต่กองทุนราคาลดลง
10.ค่าธรรมเนียม: รายละเอียดค่าใช้จ่ายในการจัดการกองทุนและค่าธรรมเนียมซื้อขายกองทุนรวมซึ่งถือเป็นต้นทุนในการลงทุนของเราด้วย
11.สัดส่วนการกระจายการลงทุน: ในส่วนนี้ทำให้เรารู้ว่ากองทุนเน้นการลงทุนไปทางไหนมีการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนมากหรือน้อย
____________________________________________
สามารถสอบถาม ซื้อกองทุนรวม หุ้นกู้ และประกันได้ที่นี่ค่ะ
ติดต่อทางไลน์: https://line.me/R/ti/p/@775usduq?from=page&searchId=775usduq
ติดต่อทางแชทเฟสบุค: http://m.me/findoccozycorner
คู่มือเปิดบัญชีกองทุนรวมใน Finnomena โดยให้หมอมิ้ม FinDoc’s Cozy Corner เป็นที่ปรึกษาการลงทุนให้กับคุณค่ะ
https://docs.google.com/…/19pUQ98aqGLHcZhmBTVYu…/edit…
____________________________________________
สามารถสอบถามหมอมิ้ม FinDoc’s Cozy Corner ได้ โดยให้บริการดังนี้ค่ะ
- ลดหย่อนภาษีด้วยประกัน ThaiESG SSF RMF
- ประกันสุขภาพ
- ประกันสำหรับเด็ก
- ประกันสะสมทรัพย์
- ประกันบำนาญ
- ประกันควบการลงทุน (Unit Link)
- กองทุนรวม
- หุ้นกู้
- (สำหรับบริษัท) ประกันกลุ่ม
- (สำหรับบริษัท) ประกัน Key Man สำหรับผู้บริหารบริษัท
ติดต่อทางไลน์: https://line.me/R/ti/p/@775usduq?from=page&searchId=775usduq
ติดต่อทางแชทเฟสบุค: http://m.me/findoccozycorner
____________________________________________
หากสนใจเรื่องการเงินการลงทุน ประกัน และการลดหย่อนภาษี สามารถติดต่อสอบถามเพื่อตรวจสุขภาพการเงินและวางแผนการเงินได้ที่นี่ค่ะ
www.findoccozycorner.com
https://www.facebook.com/findoccozycorner